ศุภวัฒน์ จงศิริ มีความสุขทุกครั้ง ที่มีคนเรียกเราว่า ศุภักษร

ศุภวัฒน์ จงศิริ มีความสุขทุกครั้ง ที่มีคนเรียกเราว่า ศุภักษร

ศุภวัฒน์ จงศิริ มีความสุขทุกครั้ง ที่มีคนเรียกเราว่า ศุภักษร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อย่างตรงไปตรงมาที่สุด! ฉันนั่งทบทวนดูแล้วพบว่าที่ทำมาหากิน อยู่กับเรื่องหนัง ได้ทุกวันนี้ ต้องถือว่าฉันเป็นหนี้บุญคุณ ศุภักษร นานมาแล้ว ชื่อ ศุภักษร เป็นเสมือนสัณญาณแห่งความรื่นรมย์ประจำบ้านหากมีการเอ่ยชื่อนี้ ขึ้นมาเมื่อใด นั่นหมายความว่า เราทั้งบ้านจะได้ยกโขยงไปดูหนังด้วยกันอีกแล้ว ฉันโตทันดูหนังที่ ศุภักษร กำกับในโรงอยู่หลายเรื่อง แต่สองเรื่องที่จำได้แม่นสุด เห็นจะไม่มีอะไรเกิน วันวานยังหวานอยุ่ กับ วันนี้ยังมีเธอรายละเอียดของเรื่องราวเป็นอย่างไร? หนังดีหรือไม่? ฉันเองจำไม่ได้เสียแล้ว มีเพียงสิ่งเดียวที่ยังจดจำขึ้นใจก็คือ หนัง 2 เรื่องนั้น และคนทำหนังทั้ง 2 เรื่องนั้นทำให้ฉันได้เรียนรู้ว่า การดูหนัง เป็นเรื่องที่สนุกสนานเสียเหลือเกิน

ณ วันที่นัดหมายสัมภาษณ์ นอกจากความตื่นเต้นเป็นปกติซึ่งเกิดก่อนการสัมภาษณ์ทุกครั้งแล้ว ขณะผลักประตูกระจกพาตัวเองเข้าสู่บริษัท คอมอาร์ตส์ จำกัด ในซอยวดเสมียนนารี ฉันยังอดไม่ได้ที่จะใจสั่นเพิ่มขึ้นเป็นกำลังสองเมื่อสำนึกว่า นี่เป็นครั้งแรกที่จะพูดคุยกับผุ้กำกับคนแรกในชีวิตที่ฉันรู้จักในระยะประชันชิด"ขอถามถามถึงผลงานที่พี่ภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตการทำงานค่ะ" ฉันเริ่มต้นสัมภาษณ์อย่างรวบรัด เร่งเข้าเรื่องทันทีที่ระงับความตื่นเต้นสำเร็จ-รู้ดีว่า พี่อี๊ด ระทึกเอง ขอให้พี่อี๊ดเลือกพูดถึงหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเคยทำมา อย่างไรก็ตาม คำตอบที่ได้รับ นอกจากจะไม่เป็นดังคาดแล้ว ยังทำให้อากาสั่นของฉันกำเริบขึ้นอีกครั้ง เพราะพี่อี๊ดหัวเราะแล้วตอบว่า "ถามผิดแล้วน้อง" อ้าว...

เคราะห์ดีเหลือเกินที่พี่อี๊ดขยายความต่ออย่างทันท่วงทีว่า "ผลงานที่ภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตการทำงานยังไม่ได้เกิดขึ้น เพราะยังต้องทำงานต่อไป ยังต้องก้าวหน้า พัฒนา ค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว มากที่สุดแล้ว มันจะทำให้เราคิดว่า ‘เออ พอแล้วล่ะชีวิต' หรือเปล่า เหมือนทำให้เราไม่มีแรงบันดาลใจที่จะทำงานต่อไป

"พี่คิดอยู่เสมอว่า สิ่งที่ทำยังไม่เต็มที่ ยังมาสมบูรณ์ ‘เฮ้ย เรายังทำอะไรได้ดีกว่านี้' ความคิดแบบทำให้เราไขว่คว้า อยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ ทำให้เราสนใจสิ่งใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ" ฟังพี่อี๊ดอธิบายแล้ว ฉันคิดว่าพอใจ กระนั้นยังไม่วายสงสัย "ถ้ามองอีกด้าน การที่พี่ทำงานมานานมาก แต่ยังไม่พบงานที่ทำให้พี่รู้สึกภาคภูมิใจที่สุดเลย มันไม่ทำให้รู้สึกท้อเลยหรือค่ะ"

"เผอิญว่างานที่พี่เคยทำไม่ใช่งานประเภทเดียวกัน จริงอยู่ว่าทั้งหมดนั้นอยู่ในสานงานสื่อสารมวลชน แต่มันก็มีทั้งงานหนังสือ งานหนัง งานโทรทัศน์ ทำมิวสิค วิดีโอ ทำเพลง การจัดอีเวนซ์ต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละงานก็มีผลงานที่รู้สึกพอใจอยู่นะ"

ก่อนจะว่ากันต่อถึงชิ้นงานของพี่อี๊ด พอใจ ที่สุดในแต่ละสาขา ขอเล่าคร่าว ๆ กันความสับสนงุนงงก่อนว่า ลำดับการทำงานของพี่อี๊ดคือ เริ่มจากเขียนหนังสือต่อด้วยงานโฆษณา ทำหนัง จากนั้นก็หันไปทำงานโทรทัศน์ จัดคอนเสิร์ต และ ปัจจุบันคือ การจัดกิจกรรมพิเศษประเภทพิธีเปิด-ปิดกีฬา การแสดงแสง เสียง

"ถ้าพูดถึงหนัง พี่ทำทั้งหมด 20 กว่าเรื่อง แต่พอใจหนังเรื่องแรก คือ ‘รักทะเล้น' มันเป็นก้าวแรกของเรา และหนังก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง

"งานเขียนหนังสือ พี่พอใจ ‘นิยายรักนักศึกษา' เพราะเป็นจุดเริ่มต้น ก่อนที่พี่จะเข้ามาสู่วงการนี้ ส่วนโฆษณา พี่พอใจประโยคที่ว่า ‘ประทับตราหัวม้าลาย' มากที่สุด"

ฉันชวนพี่อี๊ดคุยต่อเรื่องงานโทรทัศน์

"พี่ชอบมากที่สุดก็คือละครชุด ‘ชาวเขื่อน' ซึ่งดัดแปลงจากนิยายของคุณ มนันยา ออกอากาศทางช่อง 7 และโด่งดังมากทีเดียว

"ถัดจากนั้นพี่ก็มาทำวงการเพลงที่บริษัท นิธิทัศน์ รับผิดชอบงานคอนเสิร์ตต่าง ๆ พี่พอใจงานขึ้นไหนมากที่สุด พี่พอใจคอนเสิร์ต ‘งานวัด' ของวง ‘เพื่อน' ซึ่งจัดทำเป็นรูปแบบใหม่ มีการนำลักษณะของละครมาใช้ ก่อนหน้านี้คอนเสิร์ตจะเป็นการ้องเพลงอย่างเดียว แต่งานนี้เรามีการเล่นกับคนดู นำชิงช้าสวรรค์เข้าไปไว้ในฮอลล์ ทำให้มันมีลักษณะของงานพรีเชนเทชัน มากขึ้น

"มาถึงส่วนของการแสดงแสง เสียง ที่ประสบความสำเร็จมากสุดและทำให้พี่มีควาสุขทุที่สุดคือ ครั้งที่จัดที่พระราชนิเวศมฤคทายวัน หลายปีมาแล้วครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จ พระองค์ท่านพอพระทัยและได้พระราชทานพระให้ซึ่งก็ยังขึ้นคอเราอยู่จนทุกวันนี้ (ยิ้ม) ปลื้ม มีความสุขมากที่ได้ทำถวายพระองค์ท่านถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจ ในชีวิตของพี่

"ส่วนการแข่งขันกีฬา พี่เคยทำอยู่หลายครั้ง แต่ที่สร้างชื่อให้มากที่สุด ทำได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด ก็คือพิธีเปิด-ปิด การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่เชียงใหม่ โดยเฉพาะฉากที่ปิดไฟทั้งสนาม แล้วล่องเรือสุพรรณหงส์ เพื่อนำนักกีฬาทุกชาติกลับสู่ประเทศของตน เป็นภาพประทับใจและยังฝังตรึงในความรู้สึกของพี่มาจนกระทั่งทุกวันนี้"

ฉันฟังพี่อี๊ดเล่าเพลิน จนกระทั่งจบแล้วถึงได้ฉุกคิดขึ้นได้ "เท่าที่ฟังมา ดูเหมือนมีงานที่พี่รู้สึกภูมิใจอยู่หลายชิ้นเหมือนกันนะค่ะ แล้วทำไมที่แรกถึงบอกว่ายังไม่มีคะ" พี่อี๊ดยังคงหัวเราะก่อนตอบคำถามเช่นเคย แต่หนนี้ ด้วยเวลาที่ผ่านไป บวกรวมกับบรรยากาศสบาย ๆ ในระหว่างการพูดคุย ทำให้ฉันไม่สั่นและไม่ตื่นเต้นอีกแล้ว

"พี่เพียงแค่เบรกตัวเองไว้ก่อน (หัวเราะ) ว่าอย่าไปหลงกับสิ่งที่เคยทำมา ข้างหน้ามันยังมีอีกไกล โลกยังพัฒนาไปอีกเยอะ ยังมีสิ่งต่าง ๆ ให้เรียนรู้อีกมาก เราต้องผลักตัวเองขึ้นไปเรื่อย ๆ ถ้าเรามัวแต่หลงคิดว่าที่ผ่านมาเราโอเคแล้ว ทำได้ดีแล้ว พอใจแล้ว เราก็หยุดอยู่กับที่ คนที่หยุดอยู่กับที่คือคนที่ตายแล้ว"

ฉันถามต่อถึงแผนการในอนาคตของพี่อี๊ด "พี่คิดว่าสักวัน ถ้าพี่ได้ทำงานที่ยิ่งใหญ่ขึ้นอีกสักครั้ง รวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเคยทำมา แล้วมานำเสนอรวมกันให้ได้เป็นงานที่สามารถเรียกได้ว่า เป็นมาสเตอร์พีซของตัวเราแล้ว หลังจากนั้นพี่จะหันไปเขียนหนังสือ ซึ่งเป็นสิ่งที่พี่รักมากที่สุด และก่อนหน้านี้ ระหว่างที่พี่ทำหนัง ทำละคร หรืออะไรต่าง ๆ ก็มักจะมีการเขียนหนังสือแทรกอยู่แทบจะตลอด"

"พี่อยู่วงการสื่อสารมวลชนมานานมาก รักชอบอะไรมันคะ"

"พี่คิดว่า เสน่ห์ของมันก็คือ เราต้องทบทวนจิตวิณญาณของตัวเองตลอดเวลาว่าเรากำลังให้อะไรกับสังคม ตรงนี้พี่ว่านิเทศศาสตร์สอนใครว่าไม่มีจรรยาบรรณของสื่อ พี่ว่ามันมีอยู่นะ เพียงแต่ว่าจิตสำนึกของคนเราได้ทบทวนถึงมันหรือเปล่าพี่คิดว่ามันสนุกกับการที่ต้องคิดทบทวนตลอดว่า เรากำลังจะทำอะไร ถ้าทำไปแล้วคนดูได้รับอะไร พิจารณาไตร่ตรองว่ามันจะส่งผลร้ายอะไรต่อคนดูไหม หรืออย่างเวลาที่เราทำแล้วคนดูเค้ารู้สึกดี เราก็มีความสุข"

รบกวนเวลาของพี่อี๊ดมาพักใหญ่แล้ว ฉันเห็นสมควรแก่การอำลา แต่ยังอุตส่าห์นึกคำถามเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคำถามได้เป็นการส่งท้าย

"สักวันหนึ่งข้างหน้า พี่อยากให้คนจดจำพี่ในฐานะอะไรมากที่สุด"

"เฮ้ย เป็นคำถามที่ดีนะ ไม่เคยมีใครถามพี่แบบนี้มาก่อนเลย พี่ต้องใช้เวลาคิดนานเลยนะกว่าจะตอบ (หัวเราะ) "ฉันแอบให้คะแนนตัวเอง 2 แต้ม

"พี่ตอบตัวเองไม่ได้เหมือนกันนะ (นั่งคิด) พี่รู้แต่เพียงว่า พี่มีความสุขทุกครั้ง ที่มีคนเรียกเราว่า ศุภักษร"

"ศุภักษร ไม่ใช่ชื่อจริงของพี่ แต่เราได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นมา (เป็นการผสมคำระหว่างชื่อจริงว่า ศุภวัฒน์ กับคำว่า อักษร) เราสร้างงานขึ้นมา ซึ่งถ้างานของเราไม่ดีคนเขาคงไม่จำชื่อนี้

"คุณค่าและความสุขของพี่ คือการที่มีคนพูดคุยทักทายเราและเรียกเราว่า ศุภักษร"

ขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก http://nitadechulaalumni.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook