การทำงานแบบ “Design Thinking” ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงาน

การทำงานแบบ “Design Thinking” ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงาน

การทำงานแบบ “Design Thinking” ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ต้องยอมรับว่าปัจจุบันการทำงานมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จะเห็นว่าทักษะด้านดีไซน์ คือรากฐานสำคัญในการทำงาน คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อก้าวข้ามทุกวิกฤติและการเปลี่ยนแปลง ชี้ชัดว่าธุรกิจและองค์กรที่สามารถก้าวข้ามวิกฤติดิจิทัลดิสรัปชัน โควิดดิสรัปชัน ล้วนมีบุคลากรหรือหน่วยงานที่มีนักนวัตกรรมการออกแบบที่มีพื้นฐานของ Design Thinking เป็นแรงขับเคลื่อน ชูจุดเด่นธุรกิจในอนาคต

Design Thinking คืออะไร ?
Design Thinking หรือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็นกระบวนการคิดที่ทำให้เราสามารถทำความเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างละเอียด เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นก็สามารถนำเสนอแนวทางการแก้ไขได้เป็นอย่างดี แก้ได้ถูกจุด และเป็นการค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่อาจจะไม่เคยเจอมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ การทำความเข้าใจ การนิยาม ความสร้างสรรค์ การจำลอง และการทดสอบ

หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงว่า “เด็ก” เป็นกลุ่มคนที่เหมาะกับ Design Thinking เนื่องจากเป็นวัยที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ หากลองให้นำเสนอไอเดียบางอย่าง อาจจะเห็นมุมมองที่ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ นึกไม่ถึงเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าองค์กรของคุณจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานศิลปะหรือการออกแบบใด ๆ แต่การคิดเชิงออกแบบนั้นก็สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้องค์กรได้รู้ถึงปัญหาของผู้ใช้ และพยายามออกแบบวิธีการแก้ปัญหาให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากที่สุด จึงเป็นกระบวนการคิดที่สำคัญต่อทุกองค์กรและทุกรูปแบบธุรกิจนั่นเอง

Design Thinking Process มี 5 ขั้นตอน
1. การทำความเข้าใจ (Empathize) จุดเริ่มต้นของกระบวนการคิดเชิงออกแบบก็จะต้องเป็นการทำความเข้าใจปัญหาที่ผู้ใช้กำลังประสบพบเจออยู่ โดยสามารถทำได้โดยการสัมภาษณ์ ตอบแบบสอบถาม ทำแบบทดสอบ หรือการสังเกต เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นความจริง และปราศจากอคติ จึงจำเป็นที่จะต้องทำซ้ำในส่วนนี้ อาจจะเป็นการตั้งคำถามว่าทำไมถึงรู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาซ้ำ ๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการจริง ๆ คำตอบที่เราต้องได้ก็คือ ผู้ใช้เป็นใคร และผู้ใช้ต้องการอะไร

2. การนิยาม (Define) เมื่อได้ข้อมูลจากขั้นตอนการทำความเข้าใจแล้ว ต่อจากนั้นก็จะต้องนำข้อมูลดังกล่าวมาสรุป และหาว่าผู้ใช้เป็นใคร ต้องการอะไร ทำไมถึงมีปัญหา ต้องการแก้ไขเมื่อไรและที่ไหน เป็นต้น เมื่อสรุปออกมาได้แล้ว ก็จะทำให้มองเห็นภาพรวมมากขึ้น เป็นแนวทางในการคิดหาวิธีแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี

3. การสร้างสรรค์ (Ideate) เมื่อมองเห็นถึงปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้แก้ไขแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการระดมสมอง รีดเค้นไอเดียต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ออกมา ในขั้นตอนนี้ จะทำการนำเสนอไอเดียที่คิดว่าดี ไม่ว่าจะเป็นวิธีแบบไหนก็ให้ลองเสนอมาก่อน ถ้ามีการคิดนอกกรอบก็ยิ่งดี เพราะจะทำให้เปิดมุมมองใหม่ ๆ ได้มากขึ้น จากนั้นนำมารวบรวมและคัดเลือกเอาวิธีการที่น่าสนใจนำไปแก้ไขปัญหา สิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้ก็คือ ความหลากหลายทางความคิด อาจจะต้องใช้ความเห็นจากทั้งผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร และคนทั่วไป เพื่อให้ได้ไอเดียที่แตกต่างกันตามมุมมองของคนในแต่ละสถานะ

4. การจำลอง (Prototype) เมื่อขั้นตอนการคัดสรรค์ไอเดียดี ๆ ได้เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะนำไปใช้จริง ก็ต้องมีการสร้างแบบจำลองวิธีการแก้ปัญหานั้นขึ้นมาก่อน เพื่อทดสอบว่าวิธีการดังกล่าวนั้นเหมาะสมกับปัญหาของผู้ใช้จริงหรือไม่ ตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้ตรงจุดจริงหรือ และยังเป็นการช่วยลดความผิดพลาดก่อนที่จะส่งถึงมือผู้ใช้อีกด้วย แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนลงแรงไปกับการสร้างแบบจำลองจนมากเกินไป ทำลองทำเพียงแค่เป็นตัวแทนไอเดียของคุณเท่านั้น และสามารถพัฒนามันในอนาคตได้

5. การทดสอบ (Test) มาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่จะตอบได้ว่าไอเดียที่เราเลือกกันมานั้นตอบโจทย์การแก้ปัญหาของผู้ใช้ได้จริงหรือไม่ ก็คือการลงมือทดสอบไอเดียนั่นเอง ขั้นตอนนี้แม้จะดูเป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว แต่ความจริงแล้วเป็นขั้นตอนที่จะต้องมีการทดสอบซ้ำ ๆ เพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่ดีที่สุด จะต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไขวิธีการต่าง ๆ ไปด้วย จึงทำให้เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ถ้าหากว่าทดสอบจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เกิดพบว่าวิธีการที่เลือกใช้นั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง เราสามารถกลับไปเลือกใช้ไอเดียในข้อที่ 3 มาปรับใช้ใหม่ได้เช่นกัน

กระบวนการคิด Design Thinking สำคัญต่อการทำงาน
ปัจจุบันหลายธุรกิจเล็งเห็นและให้ความสำคัญในการเฟ้นหาบุคลากรที่มีกระบวนการคิดในแบบ Design Thinking เข้ามาทำงานด้วยมากขึ้น ส่งผลแนวโน้มตลาดแรงงานมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าบทบาทของ Creative Economy จะกระตุ้นให้อาชีพ Design Innovator ขยับขึ้นเป็นตำแหน่งสำคัญบนโครงสร้างหลักของทุกองค์กรที่จำเป็นไม่ต่างจากอาชีพนักบัญชี และนักกฎหมายในอดีต

เพื่อขานรับการปรับตัวธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการบุคลากรที่คิดสร้างสรรค์ คิดเร็ว ทำไว พลิกแพลงวิกฤติเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ขับเคลื่อนธุรกิจข้ามผ่านวิกฤติในระยะที่รวดเร็ว 6-12 เดือน ช่วงชิงโอกาสทางการตลาดท่ามกลางกระแสเปลี่ยนแปลงโลก และการแข่งขันในตลาด จากเดิมที่ต้องอาศัยระยะเวลาพลิกฟื้น 3-5 ปี

Design Thinking ทักษะด้านการออกแบบเชิงความคิดสร้างสรรค์การปรับเปลี่ยน พร้อมก้าวสู่การทำธุรกิจส่วนตัว หรือการเป็นมันสมองส่วนสำคัญให้องค์กร ด้วยการผสานองค์ความรู้ ศาสตร์ 4 ด้านที่สำคัญและจำเป็นครบทุกมิติ ประกอบด้วย

1. Design Creative สร้างสรรค์โมเดลธุรกิจให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก

2. Humanity ความเข้าใจเรื่องคน สร้างความพึงพอใจ เจาะเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาด

3. Technology Innovation การใช้เครื่องมือเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มโอกาสธุรกิจ สอดรับทิศทางตลาด และนวัตกรรมใหม่ ๆ

4. Marketing & Management การบริหารกลยุทธ์เชิงการตลาด พร้อมเจาะลึกถึงกระบวนการตั้งต้น ผ่านแนวคิดการออกแบบตั้งแต่เรื่องของ Product

จุดเด่นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคในแต่ละยุคที่เปลี่ยนแปลงไป ถัดมาเป็นเรื่องของ Process กระบวนการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมและตัดทอนขั้นตอนที่ไม่จำเป็นของธุรกิจ จนไปถึงกระบวนการเพื่อสร้างสินค้า ผลิตภัณฑ์ ประสบการณ์ใหม่ ๆ Service design การดีไซน์รูปแบบด้านบริการต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่เน้นเรื่องการให้บริการ และสร้างความประทับใจ และจดจำไม่รู้ลืม จนเกิดการมาใช้ซ้ำ ๆ และสุดท้ายคือเรื่อง Business Model การดีไซน์รูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ พร้อมกำหนดทิศทางกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์ตลาดอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ด้วยโมเดลธุรกิจดังกล่าวที่สำเร็จ และก้าวข้ามทุกวิกฤติมาได้ จะเห็นได้ชัดว่าโครงสร้างหลังบ้านขององค์กรธุรกิจล้วนมาจากบุคลากรที่มีรากฐานทักษะการออกแบบเชิงความคิด หรือ Design Thinking สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ปรับทิศทางธุรกิจเท่าทันโลก และความต้องการตลาด สู่การขับเคลื่อนองค์กรก้าวข้ามทุกวิกฤติและการเปลี่ยนแปลง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook