Quiet Quitting การลาออกเงียบ ปรากฏการณ์เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อว่าทุ่มเทแล้วจะได้ดี

Quiet Quitting การลาออกเงียบ ปรากฏการณ์เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อว่าทุ่มเทแล้วจะได้ดี

Quiet Quitting การลาออกเงียบ ปรากฏการณ์เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อว่าทุ่มเทแล้วจะได้ดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Quiet Quitting เป็นคำที่ถูกหยิบมาพูดถึงอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา Quiet Quitting แปลตรงตัวคือการลาออกเงียบๆ แต่มันไม่ได้หมายถึงการลาออกจริงๆ แต่เป็นการกำหนดขอบเขตการทำงานของตัวเอง ไม่ได้ทุ่มเท ไม่ได้เชื่อว่าการทำงานหนักแล้วจะส่งผลดีเสมอไป หันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากกว่า

หากให้สรุปง่ายๆ Quiet Quitting นั้นใช้อธิบายการที่พนักงานคนหนึ่งจัดการหน้าที่ ความรับผิดชอบของตัวเองเรียบร้อยแล้วก็พอแค่นั้น เพื่อใช้เวลาที่เหลือกับตัวเองเพื่อให้ work life balance

จริงๆ แนวคิดแบบนี้มีมานานแล้วพอสมควร Quiet Quitting เหมือนเป็นชื่อเรียกขึ้นมาใหม่มากกว่า แน่นอนว่ามันคงไม่ผิด ที่ทุกคนต้องการดูแลสุขภาพชีวิตของตัวเอง แต่ในมุมขององค์กรหรือบริษัท ยิ่งถ้าเป็นเจนก่อนๆ อาจจะมองว่าเด็กสมัยนี้ ไม่มีความอดทน ไม่ทุ่มเทกับงาน ขี้เกียจ ทำงานแค่เท่าที่ได้รับ

ปัจจัยที่ทำให้เกิด Quiet Quitting หากสรุปแบบง่ายๆ ก็เกิดจากที่ปัจจุบันการทำงานค่อนข้างเครียด มีความรู้สึกเหนื่อยกับปัญหาที่เจอ ทุกคนเลยอยากที่หาจุดสมดุลให้กับชีวิต

ในมุมของบริษัทก็ควรทำความเข้าใจและส่งเสริมให้พนักงานได้มีเวลาพัก ไม่ว่าจะ พักกลางวัน พักร้อน ไม่รบกวนเมื่อพวกเขาใช้ชีวิตส่วนตัว เช่น ไม่ตามงานหลังเลิกทำงาน ให้พวกเขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้พวกเขาเห็นโอกาสในการเติบโตในองค์กร แล้วองค์กรก็จะได้ผลตอบแทนจากการทำงานแน่นอน

เรื่องนี้กลายเป็นที่หยิบยกขึ้นมาพูดในหลายแห่ง สุขภาพกาย สุขภาพจิตนั้นสำคัญ เพราะพนักงานที่ทั้งสองอย่างนี้ดี พวกเขาจะทำงานได้เต็มที่และส่งเสริมให้งานต่างๆ สำเร็จได้ดีขึ้น ยังไงก็เป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่และทำความเข้าใจกัน เพราะจากการลาออกเงียบอาจจะกลายเป็นการลาออกจริงๆ ก็ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook