ทำยังไงให้ลูกควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ดีขึ้น?

ทำยังไงให้ลูกควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ดีขึ้น?

ทำยังไงให้ลูกควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ดีขึ้น?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อว่าใครก็ตามที่กำลังอ่านโพสต์นี้อยู่คงกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาที่คล้าย ๆ กัน นั่นก็คือลูก ๆ ในบ้านทำตัวเหมือนกระทิงป่าที่พุ่งทะยานไปทั่ว ควบคุมไม่ได้ เรียกมาทานข้าวก็เหมือนไม่ได้ยิน บอกให้เลิกวิ่งเล่นเสียงดังก็ไม่ยอมหยุด ท้าทายความอดทนของคนเป็นพ่อแม่แทบจะทำให้เสียสติไม่เว้นแต่ละวัน การทำให้เด็ก ๆ ควบคุมตัวเองได้ดีขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนอยากทำให้ดีขึ้นเสมอ แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด

ก่อนที่จะพยามเข้าใจว่าความสามารถในการควบคุมตัวเอง เราต้องเริ่มจากความเข้าใจก่อนว่าต้นตอมันมาจากไหน

เหตุผลที่เด็กบางคนนั้นมีความสามารถในการควบคุมตัวเองได้น้อยกว่าคนอื่นนั้นมาจากยีนที่อยู่ในตัวมาตั้งแต่เกิด มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บอกว่า แท้จริงแล้วมันเกิดจากการที่สมองของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กทุกคนนั้นเป็นตัวของตัวเองและสมองของเด็กบางคนก็เหมาะกับการจดจ่อกับอะไรนาน ๆ มากกว่าแทนที่จะคิดถึงสิ่งที่ตามมาทีหลัง

ความสามารถในการควบคุมตัวเองนั้นเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของสมองสองส่วน ส่วนแรกเรียกว่า “Limbic System” หรือสมองส่วนอารมณ์ เป็นส่วนที่แสดงอารมณ์ เช่น ความรักผูกพัน ความชิงชัง ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ฯลฯ มนุษย์มีอารมณ์ก็เพราะมีสมองระดับนี้ มันอยู่ลึกในสมองและเป็นส่วนที่มีอยู่มานานแล้ว มันตอบสนองด้วยอารมณ์และรวดเร็ว สมองส่วนนี้จะทำงานได้เต็มที่ตั้งแต่เกิดเลยทีเดียว นั่นคือเหตุผลที่ทำไมเด็ก ๆ ถึงสามารถร้องไห้เมื่อหิวหรือเจ็บปวดได้ และก็เป็นเหตุผลอีกนั่นแหละว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงมีความสามารถในการควบคุมตัวเองได้น้อย เพราะพวกเขาใช้สมองส่วนนี้เป็นหลัก เป็นตัวขับเคลื่อนไปข้างหน้า เหมือนรถไฟที่ไม่มีเบรคประมาณนั้นเลย สมองส่วนนี้มีชื่อว่า ‘hot brain’

เบรคหรือตัวยับยั้งอารมณ์มาทีหลัง เป็นสมองส่วนที่สองที่ซับซ้อนมากกว่าเรียกว่า “Prefrontal Cortex” ซึ่งเป็นสมองส่วนที่พัฒนาขึ้นมาอย่างช้า ๆ และเติบโตเต็มที่ช่วงยี่สิบกลาง ๆ นี่คือสมองส่วนที่เป็นเหตุเป็นผล ตัดสินใจได้อย่างซับซ้อน และมองดูสถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัวก่อน สมองส่วนนี้เรียกว่า ‘cool brain’

เพราะฉะนั้นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของเด็กนั้นจะขึ้นอยู่กับว่า ‘hot brain’ ของพวกเขาแอคทีฟมากขนาดไหน เมื่อเทียบกับ ‘cool brain’ แล้วนั่นเอง เราพอจะทราบดีว่าเมื่อเด็กโตขึ้นสมองส่วน ‘cool brain’ ก็จะทำงานได้ดีขึ้น มีการควบคุมอารมณ์ตัวเองได้มากขึ้น แต่เพิ่มขึ้นมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนนั่นเอง

ข่าวดีคือว่าเด็กที่มักมีปัญหาเรื่องการควบคุมตัวเองก็คือเด็กกลุ่มที่ตอบสนองต่อเทคนิคที่ใช้ฝึกการควบคุมตัวเองได้มากที่สุดเช่นเดียวกัน เด็ก ๆ เหล่านี้คือกลุ่มที่มี ‘hot brain’ แอคทีฟสูง จะจดจ่ออยู่กับสิ่งตรงหน้า ตอนนี้ ตรงนี้ นั่นหมายความว่าเมื่อเรียกแล้วไม่มาหรือบอกให้หยุดวิ่งแล้วเหมือนไม่ได้ยิน พวกเขาไม่ได้ ‘พยายาม’ ที่จะเป็นแบบนั้น ไม่ได้พยายามที่จะทำให้เราหัวเสีย ไม่ได้พยายามที่จะทำให้พ่อแม่สติแตก สมองของพวกเขาถูกสร้างขึ้นมาให้โฟกัสที่ตรงนี้ตอนนี้ต่างหาก และ ‘cool brain’ ที่เป็นส่วนของสมองที่คิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นก็ยังไม่ได้ทำงานเต็มที่ มันจึงกลายเป็นอย่างที่เห็น

เหตุผลหนึ่งที่พ่อแม่มักจะรู้สึกเครียดหรือรำคาญก็เพราะเรารู้สึกว่าเด็ก ๆ ‘ควร’ ที่จะทำในสิ่งที่เราคาดหวัง มีพฤติกรรมอย่างที่เราคิด แต่พวกเขากลับไม่เลือกที่จะไม่ทำ เราเห็นลูกบอกกับเด็กคนอื่นว่า ‘ถึงเวลาทานข้าวต้องทานข้าวนะ’ แต่พอถึงเวลาเราเรียกมาทานข้าวกลับเหมือนไม่ได้ยิน เพราะฉะนั้นเมื่อลูกบอกคนอื่นว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ลูกเลียนแบบพ่อแม่อยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่าสมองของพวกเขาจะสามารถสั่งให้ทำแบบนั้นได้ ‘hot brain’ ทำงานอย่างเต็มที่ ส่วน ‘cool brain’ นั้นยังไม่มีท่าทีว่าจะตามมาง่าย ๆ เลย เพราะฉะนั้นมันจึงยากมากที่จะไม่ทำตามความต้องการของตัวเองในเวลานั้น

กลยุทธ์ที่ช่วยลดช่องว่างระหว่างสมองสองส่วนคือการใช้ “When-Then Plans” หรือเรียกอีกอย่างว่าแผนการ “เมื่อ - จะ” ซึ่งเทคนิคนี้จะลดการพึ่งพาสมองส่วน ‘cool brain’ ในการตัดสินใจ โดยตัดมันออกจากกระบวนการตัดสินใจทั้งหมดเลยนั่นเอง

เทคนิคนี้ง่ายมาก ๆ ทำตามประโยคนี้เลยว่า “เมื่อ x ลูกจะ y” ซึ่งถ้าเราทำแบบนี้สมองส่วน ‘hot brain’ จะทำงานไปเรื่อย ๆ อย่างไม่ต้องกังวล ยกตัวอย่างประโยคว่า ‘เมื่อถึงเวลาหนึ่งทุ่ม ลูกไปทานข้าวเย็นนะ” “เมื่อเสียงโทรศัพท์ดัง ลูกต้องไปนอนนะ” 

เราเชื่อมสถานการณ์สองอันเข้าด้วยกัน โดยการวางแผนทุกอย่างไว้ล่วงหน้า “เมื่อ...จะ...” จะช่วยให้เด็ก ๆ ตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น ตัดสมองส่วนเหตุและผลไม่ให้ทำงานในเวลานั้น เพราะว่าวางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว เมื่อทำบ่อย ๆ เข้าก็กลายเป็นนิสัยที่ไม่ต้องใช้การควบคุมอีกต่อไป

แต่...สิ่งที่ช่วยทำให้เทคนิคนี้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นก็คือการโฟกัสไปที่พฤติกรรม ‘บางอย่าง’ ของลูกที่เราอยากจะปรับเปลี่ยนจริง ๆ เราไม่มีทางที่จะพัฒนาความสามารถในการควบคุมตัวเองของลูกได้ทุกด้าน (เอาจริง ๆ ขนาดตัวเรายังทำไม่ได้เลย) จำเอาไว้ว่าเราพยายามที่จะตัดกระบวนการ ‘การตัดสินใจ’ ในตอนนั้นออกไป ถ้ามี ‘เมื่อ...จะ...’ เยอะ ๆ เข้า ทีนี้จำไม่ได้แล้วว่าต้องตอบสนองต่ออันไหนก่อนหรือหลัง

“เมื่อ” จะเป็นอะไรก็ได้ อาจจะเป็นอารมณ์จากข้างใน (เศร้า หรือ โกรธ) หรือจะเป็นข้างนอก (เมื่อนาฬิกาดัง, เมื่อแม่เรียก, เมื่อเข็มยาวชี้เลข...) ส่วน “จะ” จะเป็นอะไรก็ได้ที่เราอยากให้เกิดขึ้น โดยประเด็นสำคัญคือให้มันเป็นพฤติกรรมที่รับได้และทำได้จริงสำหรับคุณและลูก เช่น “เมื่อน้องของลูกหยิบของเล่นไป ลูกจะเดินมาบอกแม่แทนที่จะตีน้อง”

เพื่อจะลองใช้เทคนิคนี้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลอง “เมื่อ...จะ...” สักอันหนึ่ง แล้วเมื่อลูกทำได้ก็ให้รางวัล อาจจะเป็นดูการ์ตูนห้านาที หรือขนมชิ้นโปรดลูกสักชิ้นหนึ่ง เพื่อเชื่อมสายไฟในสมองว่าเมื่อทำแบบนี้จะได้อะไรตามมา ยิ่งเราทำบ่อย ๆ เขาจะเข้าใจเทคนิคนี้เอง โดยไม่ต้องใช้ของรางวัลมาล่อเลย

จำเอาไว้ว่าเรากำลังรับมือกับสมองส่วนที่อยู่กับมนุษย์มายาวนานหลายพันปีแล้ว มันเป็นส่วนที่อยู่ข้างในและยากที่จะปรับเปลี่ยนได้อย่างทันที ‘cool brain’ ใช้เวลาในการพัฒนาตัวเองขึ้นมา และถึงแม้ว่าจะมีเหตุผลหรือตัดสินใจได้ดีกว่าเดิมแล้วก็ยังมีตัดสินใจผิดพลาดได้เลย เมื่อลูกควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองแทน สูดหายใจลึก ๆ และเตือนตัวเองไว้เสมอว่าสมองของลูก ๆ นั้นกำลังพัฒนาอยู่ ยังอีกนานกว่าจะทำงานได้อย่างเต็มที่ การเอาเขามาดุมาด่ามาว่ามาตีไม่ได้ทำให้สมองของเขาโตขึ้นเร็วกว่าเดิม พยายามดันเขาไปในทางที่สามารถพัฒนาความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้ แม้ว่ามันจะทำให้เราแทบจะเป็นบ้าก็ตามที

 

อ้างอิง

https://www.psychologytoday.com/intl/blog/genes-environments-and-human-behavior/202112/how-improve-self-control-in-children?utm_source=pocket_mylist

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0149763418307905

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook