10 เมนูอาหารเสี่ยง ต้องระวังทำร้ายกระเพาะอาหาร

10 เมนูอาหารเสี่ยง ต้องระวังทำร้ายกระเพาะอาหาร

10 เมนูอาหารเสี่ยง ต้องระวังทำร้ายกระเพาะอาหาร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 8 เมษายน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาวหลายวัน ส่วนใหญ่ ประชาชนจะเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด โดยทั่วไปผู้จำหน่ายอาหารจะเตรียมอาหารไว้ขายเพื่อรองรับคนจำนวนมาก และอาจมีอาหารที่ค้างจากการจำหน่ายในแต่ละครั้ง ประกอบกับช่วงนี้สภาพอากาศร้อนอบอ้าว ทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย

จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา คร. ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม-29 มีนาคม 2558 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ 30,259 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต และพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 247,212 ราย เสียชีวิต 3 ราย ตลอดทั้งปี 2557 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ 134,516 ราย เสียชีวิต 1 ราย และพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 1,106,900 ราย เสียชีวิต 8 ราย ดังนั้นในช่วงหยุดฉลองเทศกาลสงกรานต์ 11-15 เมษายน 2558 นี้ ขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงเองที่บ้าน อาหารสั่งซื้อ หรือออกไปรับประทานอาหารตามร้านนอกบ้าน

นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ที่ประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ 10 เมนู ได้แก่

1.ลาบ/ก้อยดิบ

2.ยำกุ้งเต้น

3.ยำหอยแครง

4.ข้าวผัดโรยเนื้อปู

5.อาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิสด

6.ขนมจีน

7.ข้าวมันไก่

8.ส้มตำ

9.สลัดผัก

10.น้ำแข็ง ที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

ควรรับประทานอาหารเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ อาหารทะเล ก็ขอให้ปรุงสุก หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวกหรือพล่าสุกๆ ดิบๆ ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หมู ไก่ และไข่ ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง ไม่รับประทานแบบสุกๆ ดิบๆ นอกจากนี้อาหารถุง อาหารกล่อง ควรแยกกับข้าวออกจากข้าว และควรรับประทานภายใน 2- 4 ชั่วโมงหลังจากปรุงเสร็จ

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า โรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วง มีอาการ คล้ายกัน คือ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวบ่อยครั้ง อาจมีไข้ ส่วนการดูแลเบื้องต้น ให้ดื่มน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ยังถ่ายบ่อย รับประทานอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ หรืออุจจาระเป็นมูกปนเลือด ขอให้ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน ถ้ามีข้อสงสัยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook