วิธีการปรับใช้ความฉลาดทางอารมณ์เพื่อการทำงาน

วิธีการปรับใช้ความฉลาดทางอารมณ์เพื่อการทำงาน

วิธีการปรับใช้ความฉลาดทางอารมณ์เพื่อการทำงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แนวคิดเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence : EI) ถูกศึกษากันมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่แนวคิดนี้เริ่มแพร่หลาย และเริ่มที่จะมีคนเห็นความสำคัญ คือในปี 1995 จากหนังสือ Emotional Intelligence ของ Daniel Goleman

ถึงอย่างนั้น ช่วงแรก ๆ ก็ไม่มีใครที่มองว่าความฉลาดทางอารมณ์นั้นมีส่วนสำคัญต่อการทำงาน ด้วยความที่มันดูเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ เลยมักคิดกันว่าความฉลาดทางอารมณ์ไม่ได้มีอยู่จริง แต่เมื่อมีการศึกษา วิจัยในเรื่องความฉลาดทางอารมณ์กันมากขึ้น ก็พบว่าความฉลาดทางอารมณ์มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานมากเลยทีเดียว

นอกจากนี้ McKinsey & Company ยังคาดการณ์ว่า ต่อจากนี้ไป องค์กรต้องการคนที่มีทักษะทางเทคโนโลยี สังคม อารมณ์ และความรู้ความเข้าใจขั้นสูง ภายในปี 2030 ยิ่งโลกหลังโควิด-19 ความฉลาดทางอารมณ์จะมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานมากกว่าที่เคย ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นที่เราต้องพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อประโยชน์ต่อการทำงานที่ประสบความสำเร็จ ทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงานในองค์กร

1. มั่นคงทางอารมณ์
แม้ว่าความฉลาดทางอารมณ์จะเป็นชุดของทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรม แต่ก็เป็นตัวแปรได้เช่นกัน เพราะอารมณ์คนเราขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ตลอดเวลา เวลาที่เราเหนื่อยหรือหงุดหงิด เราอาจสูญเสียความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ที่แย่กว่านั้นคืออาจเกิดกระตุ้นขึ้นโดยง่าย แล้วอาจแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวออกมา

ในเมื่อความฉลาดทางอารมณ์เป็นความสามารถที่ใช้สำหรับจัดการชีวิตของเรา รวมถึงสร้างความสามารถได้ จึงต้องเริ่มจากการพัฒนาความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีสติ ทำจิตใจให้สงบ ให้ตัวเองได้ผ่อนคลายจากความเครียด ความวิตกกังวลต่าง ๆ หยุดพักเมื่อต้องการ ใช้วันหยุดพักร้อนบ้าง และถ้าเป็นวันหยุด ก็พยายามอย่ายุ่งกับงาน

2. ฝึกการเอาใจใส่ผู้อื่น
ง่ายที่สุดของการฝึกเอาใจใส่ผู้อื่น คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือพยายามมองตัวเองให้เป็นเขา นี่เป็นทักษะการเป็นผู้นำที่สำคัญที่สุด การเห็นอกเห็นใจเป็นรากฐานในการสร้างและกระชับความสัมพันธ์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถสร้างทีมที่ดี มีส่วนร่วมต่อกัน และมีประสิทธิภาพในการมากขึ้น อีกทั้งการฝึกเอาใจใส่ผู้อื่นยังช่วยเพิ่มพูนความสุข ฝึกการแสดงออกของตนเอง และส่งเสริมความร่วมมือต่อกัน สามารถฝึกได้ด้วยการ

  • ทำความรู้จักผู้คนให้มากขึ้น เช่น ภูมิหลังและความสนใจของพวกเขา
  • ก่อนตัดสินและวิจารณ์ ให้ใช้เวลาสักครู่เรียบเรียงและเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • ฟังให้มากขึ้นและพูดให้น้อยลง
  • ฝึกการตระหนักรู้ในตนเองด้วยการจดบันทึกและข้อเสนอแนะ
  • ถามคนอื่นว่ารู้สึกอย่างอย่างไรเมื่อเราบอกว่ามีบางอย่างผิดปกติ
  • จริงใจและใช้อารมณ์อ่อนไหวเล็กน้อย

3. อ่อนไหวทางอารมณ์บ้าง
ความเปราะบางหรือความอ่อนไหวทางอารมณ์ “เป็นความเต็มใจที่จะรับรู้อารมณ์ของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกเจ็บปวด” เมื่อพูดถึงความเปราะบาง มักจะหมายถึงความอ่อนไหวทางอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ที่ยากลำบาก เช่น วิตกกังวล คับข้องใจ และรู้สึกละอาย แต่อีกส่วนหนึ่ง มันคือการยอมรับอารมณ์เชิงลบเหล่านั้น และหาวิธีจัดการกับมัน ตัวอย่างเช่น เมื่อรู้สึกท้อแท้กับงาน ก็อาจจะไปเดินเล่นเพื่อเคลียร์สมอง เมื่อวิตกกังวล เราอาจจะท่องบทสวดมนต์ หรือถ้ากำลังรู้สึกแย่ ก็อาจจะโทรหาเพื่อนที่ทำให้เราหัวเราะได้

แม้ว่าความอ่อนไหวทางอารมณ์อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายใจ แต่มันสามารถลดความวิตกกังวล กระชับความสัมพันธ์ และทำให้ตระหนักในตนเองมากขึ้น เพื่อให้สร้างความอ่อนไหวทางอารมณ์ ให้ลอง

  • นิยามอารมณ์ของตัวเองโดยใช้ภาษาธรรมดา
  • บันทึกอารมณ์ของตัวเอง
  • ฝึกการกล้าแสดงออกด้วยการสื่อสารความต้องการออกไปอย่างชัดเจน
  • พิจารณาการเข้ารับการบำบัดหรือการให้คำปรึกษา
  • รวม ๆ แล้ว การสร้างความอ่อนไหวทางอารมณ์ขึ้นมา “เป็นเพียงทักษะที่ช่วยให้เรารับรู้ถึงอารมณ์ที่ยากลำบากหรือเจ็บปวดได้ แทนที่จะหลีกเลี่ยง หรือตอบสนองต่ออารมณ์นั้นทันที”

4. เน้นสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี
ประเด็นสำคัญคือ ต้องเน้นย้ำถึงความสำคัญของสุขภาพจิต ในเดือนมกราคม 2021 มีรายงานพบว่าผู้ใหญ่มากกว่า 41 เปอร์เซ็นต์ มีอาการวิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า ซึ่งหากไม่ได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลต่อกระทบตั้งแต่สุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต ความสัมพันธ์ ไปจนถึงประสิทธิภาพการทำงาน

อย่างไรก็ดี มีวิธีง่าย ๆ ที่เราทำได้ เพื่อดูและสุขภาพจิตของเราให้ดี โดย

  • จำกัดการใช้โซเชียลมีเดียและจำกัดระยะเวลาในการอยู่กับหน้าจอ
  • พยายามออกนอกบ้าน (ละแวกบ้าน) อย่างน้อย 20 นาทีต่อวัน
  • เข้าคอร์สบำบัดอาการออนไลน์
  • ลดระยะเวลาในการอยู่คนเดียว
  • ใช้เวลาว่างกับกิจกรรมที่ชอบ
  • ดูแลตัวเองให้ดีเป็นกิจวัตรประจำวัน

ส่วนในระดับองค์กร ผู้นำก็สามารถเข้าไปกำหนดตัวกลยุทธ์เพื่อช่วยเหลือพนักงาน เช่น

  • สร้างวัฒนธรรมเพื่อให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัยที่จะเปิดใจเกี่ยวกับความรู้สึกในด้านลบของตัวเอง
  • โครงการตรวจสุขภาพพนักงาน
  • มุ่งเน้นไปที่การป้องกัน เช่น คำแนะนำการรับมือกับความเครียดและความวิตกกังวล
  • บังคับใช้ชั่วโมงการทำงานว่าไม่ควรเกินนั้น
  • สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและเพื่อสุขภาพดี
  • ให้อิสระและมีตารางเวลางานที่ยืดหยุ่น
  • ช่วยแก้ปัญหาการบริหารเวลา

5. เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการวิจารณ์และข้อเสนอแนะ
เมื่อพูดถึงการวิพากษ์วิจารณ์หรือคำติชม หลายคนก็รู้สึกสั่นสะท้านด้วยความกลัวแล้ว จริง ๆ แล้วนั่นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ เพราะธรรมชาติของคนเราไม่ชอบให้ใครมาตำหนิติเตียน หรือได้ยินคนอื่นพูดถึงข้อบกพร่องของตัวเอง แทนที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้น ให้เผชิญหน้ากับมัน แล้วใช้ข้อเสนอแนะที่ได้รับมาปรับปรุงและพัฒนาตนเอง มันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นไปได้ โดยการถามตัวเองก่อน

  • ทำไมคำวิจารณ์ถึงทำให้ฉันไม่พอใจ
  • ปฏิกิริยาของฉันคืออะไร
  • ฉันจะทำอะไรได้บ้าง

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ให้มองความคิดเห็นเชิงลบเป็นโอกาสในการเรียนรู้และเติบโต ซึ่งต้องไม่ใช่การโจมตีส่วนบุคคล แต่วิจารณ์ถึงทักษะ ความสามารถหรือข้อผิดพลาด เพื่อที่จะได้รู้ว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน แล้วต้องเริ่มแก้จากไหน ยิ่งไปกว่านั้น คำติชมสามารถยังเปลี่ยนพฤติกรรมหรือนิสัยที่ไม่ดีของเราได้ด้วย สำหรับผู้ที่เป็นผู้นำ มันก็ช่วยให้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้ และยังสามารถสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าและพนักงานได้อีกด้วย

6. สร้างความผูกพันทางสังคม
หากคนในทีมเดียวกันรู้สึกไม่สนิทใจต่อกัน ก็ยากที่จะทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น เพราะฉะนั้น การสร้างความผูกพันระหว่างคนในทีมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ยิ่งช่วงที่ผ่านมาการ Work from Home ทำให้ทุกคนในทีมต้องแยกย้ายกันไปทำงานบ้านใครบ้านมัน ขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่ปกติจะต้องมีได้เจอหน้าพูดคุยกันทุกวันเวลาเข้าออฟฟิศ

เพื่อแก้ปัญหานี้ ในทีมอาจจะต้องหาเวลาและกิจกรรมทำร่วมกันบ้าง ไม่จำเป็นต้องไปเจอหน้ากันจริง ๆ เพราะเราสามารถทำกิจกรรมร่วมกันในระยะไกลได้ เช่น การกินกลางวันเสมือนจริง การแข่งขันเกม ท้าแข่งกันลดน้ำหนัก รวมถึงกิจกรรมอาสาสมัครหรือการบริจาคเพื่อการกุศล การได้ทำกิจกรรมร่วมกัน จะทำให้คนในทีมรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมกับทีม มีความสำคัญกับทีม จึงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้

7. การแบ่งปันคือความห่วงใย
เพราะความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญต่อการทำงาน ทั้งกับตัวเองและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งบรรยากาศในการทำงานคงจะดีแน่ ๆ ถ้าทุกคนในทีมต่างมีความฉลาดทางอารมณ์ในการเข้าหากัน ดังนั้น หากมีบทความ หนังสือ Podcast หรือ Ted Talks ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ อย่าลืมแนะนำแหล่งการเรียนรู้ดี ๆ นี้ให้กับเพื่อนร่วมงาน (หรือกับผู้อื่น) เพื่อให้เขาจะได้นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของตนเองได้

สำหรับคนที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้างาน อาจลองจัดการสัมมนาในลักษณะนี้ขึ้นมาเพื่อพนักงานก็ได้ เพราะความฉลาดทางอารมณ์จะสังเกตเห็นได้ชัดเมื่อทำงานร่วมกับผู้อื่น การสัมมนาอาจมีการสร้างสถานการณ์จำลอง หรือไม่ก็มีแบบทดสอบความฉลาดทางอารมณ์ให้ลองทำ เพื่อที่จะได้รู้ว่าตนเองอยู่ระดับไหน แล้วต้องพัฒนาอะไรบ้าง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook