ตามรอยช่างนาฬิกา Grand Seiko สู่สตูดิโอกลางผืนป่าเมืองอิวาเตะ

ตามรอยช่างนาฬิกา Grand Seiko สู่สตูดิโอกลางผืนป่าเมืองอิวาเตะ

ตามรอยช่างนาฬิกา Grand Seiko สู่สตูดิโอกลางผืนป่าเมืองอิวาเตะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
  • Grand Seikoเปิดตัวสตูดิโอแห่งใหม่Grand Seiko Studio Shizukuishi ที่เมืองชิสุกุอิชิ จังหวัดอิวาเตะ เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2020
  • Grand Seiko Studio Shizukuishiออกแบบโดย เคนโงะ คุมะ สถาปนิกผู้โด่งดังของญี่ปุ่น และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบ Japan National Stadium แห่งใหม่สำหรับใช้เป็นสถานที่จัดงานโอลิมปิก 2020

เมื่อวิถีแห่งธรรมชาติคือหนึ่งในปรัชญาการออกแบบนาฬิกาของช่างฝีมือแห่ง Grand Seiko สตูดิโอไม้ที่ออกแบบอย่างเรียบง่าย Grand Seiko Studio Shizukuishi จึงเปิดตัวขึ้นเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2020 ที่ผ่าน ความพิเศษคือสตูดิโอแห่งนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในย่านอุตสาหกรรมหรือกลางเมือง ตรงกันข้ามGrand Seiko Studio Shizukuishi เลือกที่จะชวนช่างฝีมือและช่างทำนาฬิกาไปนั่งอยู่ท่ามกลางวงล้อมของธรรมชาติ เมืองชิสุกุอิชิ จังหวัดอิวาเตะ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น

“สตูดิโอแห่งนี้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเหล่าช่างฝีมือทั้งชายและหญิงในการที่จะเนรมิตนาฬิกากลไกของGrand Seiko และยังเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการฝึกอบรมช่างนาฬิการุ่นใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะของพวกเขา สตูดิโอแห่งนี้แฝงด้วยปรัชญาของGrand Seiko นั่นคือ The Nature of Time และเป็นหลักฐานชัดเจนให้โลกได้ประจักษ์ถึงการอุทิศตนของเราต่อศิลปะแห่งการรังสรรค์นาฬิกากลไก” ชินจิ ฮัตโตริ ประธานกรรมการและซีอีโอของไซโก วอตช์ คอร์ปอเรชัน เล่าถึงจุดมุ่งหมายของการเปิดสตูดิโอใหม่ที่ย้ำถึงจุดยืนความเป็น The Nature of Time ของGrand Seiko ที่ถูกส่งต่อมายาวนานถึง 60 ปี



Grand Seiko Studio Shizukuishiออกแบบโดย เคนโงะ คุมะ (Kengo Kuma) สถาปนิกผู้โด่งดังของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบ Japan National Stadium แห่งใหม่สำหรับใช้เป็นสถานที่จัดงานโอลิมปิก 2020 ที่ถูกเลื่อนออกไป และสำหรับGrand Seiko Studio Shizukuishi นี้ไม่ได้โดดเด่นด้วยสถานที่ตั้งซึ่งอยู่ท่ามกลางต้นไม้ขนาดใหญ่เท่านั้น แต่เคนโงะยังได้นำปรัชญา The Nature of Time มาใส่ไว้ในทุกรายละเอียดงานดีไซน์ สร้างความกลมกลืนระหว่างตัวสตูดิโอกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม ที่สำคัญช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ช่างฝีมือ ช่างนาฬิกา เพราะใน 4 ฤดู บรรยากาศของสตูดิโอก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามสีสันของธรรมชาติและกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งนี่เป็นความตั้งใจของสถาปนิกที่ต้องการนำ ธรรมชาติ และ เวลา มาผสานกันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ในการออกแบบนาฬิกา



“มุมมองของGrand Seiko ที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติ สะท้อนอยู่ในทุกมุมของการออกแบบและการก่อสร้าง ผมสนุกมากกับความท้าทายในการทำห้องคลีนรูม ที่ซึ่งนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรงสูงสุดจะถูกประกอบขึ้นจากไม้ การรักษาสมดุลระหว่างวัสดุที่เป็นธรรมชาติกับข้อกำหนดทางเทคนิคด้านเทคโนโลยีขั้นสูงของห้องนี้ นับเป็นภารกิจใหม่และน่าสนใจ”



ด้านโครงสร้างและวัสดุที่ใช้ทำจากไม้สีน้ำตาลอุ่น สลับกับกระจกใสเพื่อรับแสงธรรมชาติและสะท้อนภาพงานศิลปะจากธรรมชาติรอบข้าง แบ่งพื้นที่ออกเป็นแกลเลอรีสำหรับจัดแสดงประวัติศาสตร์และนวัตกรรมเรือนเวลาของ Grand Seikoซึ่งตอนนี้ได้จัดแสดงนาฬิการุ่น Hi-beat 36000 80 Hours เป็นผลงานชิ้นแรกที่รังสรรค์ขึ้น ณ สตูดิโอแห่งใหม่นี้

นาฬิการุ่น Hi-beat 36000 80 Hoursนาฬิการุ่น Hi-beat 36000 80 Hours

อีกส่วนคือ ห้องคลีนรูม หรือก็คือห้องสำหรับประกอบนาฬิกา ซึ่งเป็นที่ทำงานของบรรดาช่างฝีมือ โดยนักท่องเที่ยวสามารถชมขั้นตอนการทำงานของช่างนาฬิกาได้บางส่วน และที่จะขาดไม่ได้คือการชมธรรมชาติรอบสตูดิโอ ที่จะเปลี่ยนไปในตลอด 4 ฤดูกาล ที่สำคัญจากชั้นสองของสตูดิโอยังสามารถมองเห็นภูเขาอิวาเตะ ซึ่งเป็นภูเขาที่สำคัญของเมืองอีกด้วย

Fact File

Grand Seikoถือกำเนิดขึ้นในปี 1960 โดยเน้นการออกแบบความเที่ยงตรงที่ดึงรากเหง้าและมรดกของญี่ปุ่น ปรัชญาของแบรนด์ ได้แก่ The Nature of Time ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และรังสรรค์ขึ้นโดย “ทาคุมิ” (Takumi) หรือช่างฝีมือผู้มีความชำนาญเฉพาะด้านในการออกแบบเรือนเวลาโดยเฉพาะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook