แนะนำ “วิธีปฏิเสธ” พูดอย่างไร ถนอมน้ำใจคนฟัง

แนะนำ “วิธีปฏิเสธ” พูดอย่างไร ถนอมน้ำใจคนฟัง

แนะนำ “วิธีปฏิเสธ” พูดอย่างไร ถนอมน้ำใจคนฟัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณเคยรู้สึกลำบากใจเวลามีคนขอร้องให้ช่วยแล้วคุณไม่ได้อยากช่วย แต่ต้องจำใจช่วยไหม หรือคุณเคยรู้สึกลำบากใจ เวลาคุณจะไปเที่ยวแล้วเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันมานานกว่า 10 ปี (อันที่จริงก็ไม่น่าจะเรียกว่าเพื่อนแล้วนะ) ดันทักคุณมาทาง Inbox ในเฟซบุ๊ก เพราะคุณโพสต์สเตตัสว่ากำลังจะไปเที่ยวต่างประเทศ แล้วเพื่อนคนดังกล่าวก็ดันมาขอให้คุณช่วยซื้อของที่อยากได้เหมือนกับคุณเพิ่งคุยกับเขาเมื่อวานเลยทีเดียว

หรือความรู้สึกลำบากใจเวลาเจ้านาย หรือ เพื่อนร่วมงานดันมาขอให้คุณทำงานที่ไม่ใช่งานของคุณ คุณก็ต้องทำเพราะไม่กล้าปฎิเสธ เพราะทั้งหมดนี้ ถ้าคุณไม่ช่วย คุณจะถูกหาว่าไม่มีน้ำใจ แล้วคำว่าน้ำใจ ถ้าต้องทำให้เราลำบากนั้น เราคงต้องมาพิจารณากันใหม่ไหมว่า สิ่งที่เรากำลังทำให้คนอื่นนั้นคือน้ำใจหรือกำลังเอาเปรียบตัวเราเอง เมื่อเป็นเช่นนี้มาดูกันว่าจะมีวิธีปฎิเสธอย่างไร ที่ทำให้ตัวเราเองไม่ได้รู้สึกผิดที่ไม่ช่วยพวกเขาตามคำขอ

วิธีง่ายที่สุด ตอบปฎิเสธไปเลย
ถ้าไม่อยากลำบากใจ หรือกระอักกระอ่วนใจ ปฎิกิริยาแรกที่ถูกใครขอร้องในสิ่งที่คุณไม่เต็มใจทำให้ คือตอบปฎิเสธไปเลย ไม่จำเป็นต้องแบ่งรับแบ่งสู้ เพราะการเข้าไปช่วยเหลือใครนั้นหมายถึงการเข้ารับผิดชอบในเรื่องที่เราไม่ได้เกี่ยวข้องหรืออยากเกี่ยวข้อง และถ้าเป็นการขอร้องให้ทำงานที่คุณไม่ได้รับผิดชอบ คุณก็ต้องตอบปฎิเสธ พร้อมอธิบาย เหตุผลประกอบว่าทำไมคุณถึงไม่สามารถช่วยได้

จงจำไว้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องมีขอบเขตในการให้ความช่วยเหลือคนอื่น แต่เหนืออื่นใด ต้องเตือนตัวเองไว้เสมอเมื่อปฎิเสธการให้ความช่วยเหลือที่คุณมองว่าไม่ใช่ความรับผิดชอบของคุณว่า “ไม่ใช่ความผิดของคุณ และไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลใด ๆ มาแก้ตัว แค่ปฎิเสธด้วยคำพูดที่สุภาพ ก็เพียงพอ”

ปฎิเสธด้วยการให้ข้อเสนอหรือทางเลือก
แม้ว่าคุณไม่สามารถช่วยเขาได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่สามารถให้คำแนะนำหรือเสนอทางเลือกให้กับคนที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีเพื่อนหรือรุ่นน้องของคุณ ดันโทรมาหาเพื่อขอให้ช่วยหางานให้ทำ แต่คุณไม่ได้รู้สึกว่าตนเองพร้อมที่จะช่วยเขา คุณปฎิเสธเขาได้ และสามารถเสนอทางออก ด้วยการแนะนำว่ามีตำแหน่งงานในสายที่เดียวกันที่ต้องการคนให้กับเขา แล้วให้เขาไปดิ้นรนหาทางสมัครเอง

จงยึดมั่นในจุดยืนของตนเองและยังคงความสุภาพเอาไว้
ถ้ามีคนมาเชิญคุณเพื่อร่วมงานสัมมนา หรือเพื่อนในกลุ่มคุณชวนคุณไปเที่ยว แต่ตารางงานของคุณแน่นทั้งเดือน และคุณต้องตอบปฎิเสธพวกเขาไป แต่เหนืออื่นใด จงทิ้งทางเลือกไว้ให้พวกเขาด้วย คุณอาจจะบอกว่า เดือนนี้งานแน่นมาก แต่เดือนหน้าน่าจะพอได้ ลองกำหนดวันมา แล้วจะได้ลงในตารางของเดือนถัดไปให้เลย การปฎิเสธที่แสนจะนุ่มนวลแบบนี้ย่อมทำให้คนฟัง รู้สึกไปในทางที่ดีด้วยอย่างแน่นอน

อย่าตอบรับในทันที และรู้จักคุณค่าของตัวเอง
เมื่อถูกร้องขอให้ช่วย อย่าเพิ่งตัดสันใจตอบรับในทันที ขอให้พิจารณาด้วยเหตุผลและอย่าได้ใช้อารมณ์ประเภทช่วยเพราะสงสารเป็นอันขาด นอกจากนี้ จงรู้คุณค่าของตัวเอง ถ้าคิดจะช่วยใครคุณต้องมีเหตุผลด้วยว่าทำไมถึงช่วยเขา และถ้าคุณจะปฎิเสธในการช่วยเหลือใคร ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าการเอาชื่อเสียง หรือสถานภาพที่คุณมีอยู่ในปัจจุบัน เข้าไปช่วยเหลือคนอื่นนั้นคุ้มค่าต่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook