ความลับที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ “ลูกกระเดือก”

ความลับที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ “ลูกกระเดือก”

ความลับที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ “ลูกกระเดือก”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ลูกกระเดือก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ที่เรามักจะเห็นปรากฏชัดเจนอยู่บนลำคอของ “ผู้ชาย” เท่านั้น แล้วเคยสงสัยไหมว่าทำไมมีแค่ผู้ชายเท่านั้นที่มีลูกกระเดือก ผู้หญิงไม่มีจริง ๆ เหรอ และทำไมผู้หญิงถึงไม่มี?

ลูกกระเดือกคืออะไร
ลูกกระเดือก คือ ก้อนกลม ๆ แหลม ๆ ที่เราเห็นปรากฏเด่นชัดอยู่บนลำคอของผู้ชาย จริง ๆ แล้วลูกกระเดือกเกิดขึ้นจาก 2 ชิ้นมาประกบกันแล้วทำมุมยื่นออกมา

ลูกกระเดือก ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า อดัมส์ แอปเปิล (Adam’s apple) เพราะมีตำนานที่เชื่อมโยงไปถึงคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ ก้อนกระดูกแข็ง ๆ นี้ยื่นออกมาจากบริเวณลำคอด้านหน้า เหนืออวัยวะที่เรียกว่า “ต่อมไทรอยด์” กระดูกในบริเวณนี้จึงเรียกว่า “กระดูกอ่อนของต่อมไทรอยด์” และกระดูกส่วนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ “กล่องเสียง”

ทำไมผู้ชายถึงมีลูกกระเดือก
ความจริงแล้วไม่ใช่แค่ผู้ชายเท่านั้นที่มีลูกกระเดือก แต่ผู้หญิงก็มีลูกกระเดือกกับเขาเหมือนกัน ภาษาอังกฤษจะเรียกลูกกระเดือกของผู้หญิงว่า เอปิกลอตติส (Epiglottis) อย่างที่อธิบายไปแล้วข้างต้นว่าลูกกระเดือกเป็นกระดูกอ่อนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ในเมื่อเป็นอวัยวะแล้ว ก็แปลว่าร่างกายของมนุษย์จะมีเหมือนกันหมดทุกคนไม่จำแนกหญิงชาย เพียงแต่ลักษณะที่มีจะไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ คือมนุษย์ทุกคนมีอวัยวะบ่งบอกเพศ แต่เพศชายเพศหญิงมีไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง

ในวัยเด็ก ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะมีกระดูกอ่อนของต่อมไทรอยด์ขนาดใกล้เคียงกัน เมื่อเรามองเด็ก ๆ ก็เลยไม่เห็นกระดูก 2 ชิ้นที่ประกบกันนี้ เลยรู้สึกว่าเด็ก ๆ ไม่มีลูกกระเดือก แต่เมื่อเข้าสู่วันรุ่น จะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเพศเข้ามามีบทบาทในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกือบทุกส่วน เด็กผู้ชาย ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ถูกสร้างขึ้นมาควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย มีผลทางสรีรภาพ คือ

ทำให้โต คือ การเพิ่มขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความหนาแน่นและความแข็งแรงของมวลกระดูก กระตุ้นให้กระดูกเจริญเติบโตเต็มที่เป็นผู้ใหญ่
สร้างบุรุษภาพ คือ การทำงานของระบบสืบพันธุ์ เสียงแตก ทุ้มต่ำ มีขนเกิดขึ้นตามร่างกายและใบหน้า
แต่เนื่องจากลักษณทางกายวิภาคและสรีระของเพศชายจะมีขนาดโครงสร้างที่ใหญ่กว่าเพศหญิง เพศชายที่เข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว อวัยวะทุกส่วนมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและรูปร่าง รวมถึงกล่องเสียงก็มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย และกล่องเสียงของผู้ชายก็มีขนาดใหญ่กว่ากล่องเสียงของผู้หญิง

จากปัจจัยของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ทำให้ลักษณะทางสรีระของชายหญิงต่างกัน ลูกกระเดือกของผู้ชายจึงมีขนาดใหญ่และเห็นได้ชัดกว่าลูกกระเดือกของผู้หญิง (ใหญ่ตามขนาดของกล่องเสียง) ที่สำคัญ กระดูกสองส่วนที่ประกบกันเป็นลูกกระเดือกของผู้ชายนั้น จะทำมุมเกือบ ๆ มุมฉาก คือ ประมาณ 90 องศา ขณะเดียวกัน กระดูกสองส่วนที่ประกบกันเป็นลูกกระเดือกของผู้หญิง จะวางตัวในลักษณะมุมป้าน (มุมที่มีขนาดกว้างกว่ามุมฉาก) อยู่ที่ประมาณ 120 องศา ทำให้ลูกกระเดือกผู้หญิงจะอยู่ในแนวราบ มองเห็นไม่ชัดเป็นลูกเท่าผู้ชาย ก็เลยรู้สึกว่าผู้หญิงไม่มีลูกกระเดือก

กล่องเสียงอยู่ตรงไหน
ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะหากล่องเสียง และหาลูกกระเดือกของผู้หญิง เพียงแค่ลองใช้ปลายนิ้วแตะเบา ๆ บริเวณลำคอด้านหน้า ฮัมเพลงเบา บริเวณที่เรารู้สึกว่าสั่นสะเทือนนั่นแหละคือกล่องเสียง ส่วนการหาลูกกระเดือกของผู้หญิง ให้ใช้ปลายนิ้วแตะเบา ๆ ที่ลำคอตำแหน่งเดิมแล้วกลืนน้ำลาย เราก็จะสัมผัสได้ถึงก้อนอะไรกลม ๆ เคลื่อนที่ลงข้างล่างแล้วเด้งกลับขึ้นสู่ตำแหน่งเดิมอย่างรวดเร็ว

กระดูกอ่อนและต่อมไทรอยด์ทำงานร่วมกันแถวบริเวณกล่องเสียง คือ มีส่วนในการกำหนดเสียงสูงและเสียงใหญ่ของคน กล่องเสียงที่ใหญ่ขึ้นจะให้โทนเสียงต่ำลง ลึกขึ้น ทำให้ผู้ชายจะมีเสียงที่ทุ้มกว่าผู้หญิง ส่วนผู้หญิงที่เติบโตขึ้นจะมีกล่องเสียงที่ใหญ่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เสียงก็ลึกลงอีกเล็กน้อยเช่นกัน แต่ก็ไม่ต่ำเท่าผู้ชาย ที่คือหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมผู้หญิงถึงได้มีเสียงที่ฟังดูเล็กแหลมมากกว่าผู้ชาย

หน้าที่ของลูกกระเดือก
ที่จริงแล้ว ลูกกระเดือกไม่ได้มีประโยชน์ในทางการแพทย์ แต่มีประโยชน์สำหรับมนุษย์ คือ ทำหน้าที่ปกป้องเส้นเสียง ในการพูดคุย การหัวเราะ การกระซิบ การร้องเพลง การตะโกน เป็นต้น และหน้าที่สำคัญของลูกกระเดือกก็คือ เป็นช่องเปิดเข้าสู่กล่องเสียง ในขณะกลืนอาหารกล่องเสียงจะเลื่อนขึ้นข้างบน ส่วนปลายของลูกกระเดือกจะเลื่อนลงมาปิดกล่องเสียงไม่ให้อากาศลงสู่กล่องเสียงได้ และยังปิดกั้นช่องว่างระหว่างหลอดอาหารกับหลอดลม

และนี่คือความลับเกี่ยวกับ “ลูกกระเดือก” ที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยรู้

ข้อมูลจาก LiveScience.com, Healthline.com, KidsHealth.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook