กินเท่าไหร่ใช้เท่านั้น! "FoodiEat" แอพฯเอาใจคนรักสุขภาพ

กินเท่าไหร่ใช้เท่านั้น! "FoodiEat" แอพฯเอาใจคนรักสุขภาพ

กินเท่าไหร่ใช้เท่านั้น! "FoodiEat" แอพฯเอาใจคนรักสุขภาพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จาการเก็บข้อมูล Thai Size พบว่าคนไทย 1 ใน 3 เป็นโรคอ้วน หรือร้อยละ 34 โดยผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคที่มีสาเหตุมาจากโรคอ้วนถึงร้อยละ 70 และอ้วนเป็นอันดับสองของเอเชียรองจากประเทศมาเลเซีย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับ 4 หน่วยด้านโภชนาการ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมอนามัย

โดยแอปพลิเคชัน "FoodiEat"เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2554 แต่ไดิมีการปรับปรุงสู่เวอร์ชั่น 2ให้ใช้งานง่าย บนมือถือทั้งระบบ iOS และ Android โดยสามารถบันทึกพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และคำนวณค่าพลังงานที่เผาผลาญจากการออกกำลังกาย รวมถึงให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพแก่ผู้บริโภคได้โดยตรงผ่านเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะเรียนรู้พฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกายของผู้ใช้ด้วย

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการสร้างนโยบายซึ่งจะนำมาสู่การสร้างความสุขให้กับประชาชน คนไทย หนึ่งในนโยบายสำคัญนี้คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะการสร้างเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และการป้องกันโรค ซึ่งเป็นแนวทางหลักที่มีความสำคัญและดีกว่าการรักษาเมื่อเจ็บป่วยแล้ว รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพอันสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการ บริโภคที่ไม่ถูกต้องและออกกำลังกายไม่เพียงพอจึงได้ให้การสนับสนุนโครงการ ส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทยในรูปแบบที่หลากหลายแอปพลิเคชันบนมือถือ "FoodiEat" ดังกล่าว จะเป็นทางเลือกให้ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพ ของตนเอง นอกจากนี้ "FoodiEat" ถือเป็นแอปพลิเคชันแรกที่เชื่อมโยงข้อมูลกับ 3 หน่วยงานหลักที่มีฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการและฉลากโภชนาการสำหรับอาหารไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการสร้างฐานข้อมูลโภชนาการอาหารไทย ของประเทศ

ดร.ทวีศักดิ์กออนันตกูลผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า จุดเด่นที่สำคัญของแอปพลิเคชัน "FoodiEat" คือการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการสำหรับอาหารไทยจากหลายหน่วยงาน โดยโครงการฯ ได้รับการอนุเคราะห์ข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทยและผลไม้จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และข้อมูลฉลากโภชนาการของอาหาร ขนม และเครื่องดื่มกว่า 2,000 รายการ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทั้งนี้การที่แอปพลิเคชันทำงานผ่านเซิร์ฟเวอร์จะทำให้สามารถปรับปรุงฐานข้อมูลอาหารให้ทันสมัยอยู่เสมอ

แอปพลิเคชัน"FoodiEat"จะเป็นข้อมูล ให้คนไทยใช้เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคและเสริมสร้างค่านิยมใน การบริโภคอาหาร รวมถึงการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. สนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากเล็งเห็นว่าแอพพลิเคชั่นจากต่างประเทศไม่ตอบโจทย์คนไทยไม่ว่าจะเป็นเมนูอาหาร ไลฟ์สไตล์ จึงเกิดการร่วมมือในการพัฒนาแอพขึ้นมา โดยเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสื่สำหรับแอปพลิเคชัน FoodiEat สสส. ได้นำข้อมูลเทรนด์สุขภาพใหม่ๆ เช่น ลดพุง ลดโรค อาหารเพื่อสุขภาพ และกิจกรรมทางกาย นำเสนอในรูปแบบ Infographic เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ และคนวัยทำงาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ รองผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความร่วมมือว่า สถาบันโภชนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรแกรมบันทึกและวิเคราะห์พฤติกรรมบริโภคอาหารและออกกำลังกาย FoodiEat โดยสนับสนุนข้อมูลจากฐานข้อมูลโปรแกรมการคำนวณคุณค่าสารอาหาร INMU-CALที่สถาบันโภชนาการได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานข้อมูลจากการวิเคราะห์คุณค่าสารอาหาร โดยเทคนิคในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ISO-IEC 17025 การพัฒนาแอพพลิเคชั่น FoodiEat นี้ ถือได้ว่าเป็นแอปพลิเคชันที่มีความถูกต้อง ด้านข้อมูลวิชาการและเหมาะสมกับคนไทย เป็นตัวช่วยให้กับผู้บริโภคที่มีความแตกต่างกันในด้าน การบริโภคอาหารที่หลากหลาย พฤติกรรมและกิจกรรมที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลด้านโภชนาการ เพื่อใช้ในการคำนวณพลังงานที่ได้รับจากอาหารและการใช้พลังงานจากกิจกรรมต่างๆ อันก่อประโยชน์แก่ประชาชนให้สามารถประกอบกิจกรรมต่างๆให้เกิดความสมดุลของพลังงาน ซึ่งเป็นแนวทางในการลดความเสี่ยงจากโรค NCD ที่กำลังขยายตัวและเป็นภาระใหญ่หลวงของภาครัฐในเรื่องค่ารักษาพยาบาล

ดร.ทิพย์ วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการ สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า อย. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมการให้ผู้บริโภค ทราบข้อมูลโภชนาการและมีเครื่องมือที่เป็นประโยชน์กับการบริโภคในชีวิตประจำ วันจึงได้สนับสนุนข้อมูลที่แสดงบนฉลากอาหารเช่นคุณค่าทางโภชนาการ 15 รายการจากกรอบข้อมูลโภชนาการ ได้แก่ ค่าพลังงาน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โซเดียม วิตามินและเกลือแร่ เป็นต้น ของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 24 ประเภท เช่น กลุ่มขนมขบเคี้ยว กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป กลุ่มอาหารมื้อหลักแช่เย็น แช่แข็ง กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์จากนม กลุ่มเครื่องดื่ม ประมาณ 3,000 ผลิตภัณฑ์ ที่จำหน่าย ณ ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะใช้เป็นฐานข้อมูลให้ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันสแกนบาร์โค้ด ผลิตภัณฑ์ อาหารและบันทึกข้อมูลการบริโภคได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม อย. ได้มีการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารในระดับประเทศ อีกทั้งเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนและควบคุมการ บริโภคอาหารได้อย่างเหมาะสม

นางสุจิตน์ สาลีพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวว่าในส่วนของกรมอนามัย โดย สำนักโภชนาการ ได้สนับสนุนในเรื่องของข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของอาหารจานเดียวและผลไม้ ซึ่งเป็นอาหารและผลไม้ที่คนนิยมบริโภคทั่วไป เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวกะเพราไก่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กหมูต้มยำ ผัดไทย เส้นใหญ่ผัดซีอิ้ว และเมนูจำพวกผลไม้ทั่วไป เช่น ส้ม ฝรั่ง แตงโม มะละกอ เป็นต้น ซึ่งปกติคนเราต้องการอาหารข้าว-แป้งมื้อละ 2-4 ทัพพี เนื้อสัตว์มื้อละ 2-4 ช้อนกินข้าว ผักมื้อละ 1-2 ทัพพี ผลไม้มื้อละ 1-2 ส่วน กินน้ำมัน น้ำตาล เกลือ แต่เพียงเล็กน้อย บางคนกินอาหารซ้ำๆ และเลือกแต่ที่ตัวเองชอบ แต่ไม่เคยรู้เลยว่าที่บริโภคเข้าไปนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างไร ซึ่งการบริโภคอาหารจานเดียวนั้น ควรประกอบด้วยอาหารหลายชนิด เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่างๆ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ ให้เพียงพอและเหมาะสมแก่ความต้องการของร่างกาย แต่อาหารจานเดียวที่เรากิน ส่วนมากไม่เป็นไปตามหลักโภชนาการที่ถูกต้อง ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่วนมากจะได้ในกลุ่มไขมันมากเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้นข้อมูลอาหารจานเดียวใน "Foodieat" จะเป็นตัวช่วยอย่างดีในการตรวจสอบพฤติกรรมการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อว่าเหมาะสมหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook