เดินอย่างไรให้ร่างกายแข็งแรง

เดินอย่างไรให้ร่างกายแข็งแรง

เดินอย่างไรให้ร่างกายแข็งแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเดินถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง และเชื่อแน่ว่าหลายคนอาจจะไม่ทราบว่าจะต้องเดินอย่างไร ถึงจะได้ผลในแง่ของการออกกำลังกาย และในวันนี้เรามาดูกัน

การเดินของเรานั้นมีทั้งถูกและผิด ซึ่งการเดินผิดๆ มีผลต่อท่วงท่าและการหายใจ ขณะเดียวกันก็อาจทำให้เดินไม่คล่องและบาดเจ็บได้ง่าย โดยการแก้ท่าเดินที่ผิดจนติดเป็นบุคลิกนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เวลาและความอดทนมากทีเดียว

เริ่มที่ท่ายืนก่อน

ควรปล่อยตัวตามสบายและหายใจตามปกติ ขณะเดินควรเงยหน้า ตามองตรงไปให้ไกลที่สุด อย่าเดินก้มหน้าอาจทำให้ปวดคอปวดหลังได้ ประการต่อมาคือ อย่าเดินตะแคงเท้า ไม่ว่าจะตะแคงเข้าหรือตะแคงออก เนื่องจากข้อเท้าและเข่าจะต้องรับแรงเค้นเพิ่มขึ้นและอาจเกิดอาการปวดหลังได้ในที่สุด การเดินที่ดีควรเดินให้เต็มเท้าโดยลงเส้นเหยียบให้เต็มฝ่าเท้า แล้วจึงยกขึ้นโดยให้หัวแม่เท้าขึ้นจากพื้นเป็นส่วนสุดท้าย

ลองนึกภาพว่าคุณกำลังดึงเท้าขึ้นจากพื้นเหนียวๆ เพื่อจะก้าวไปข้างหน้า ถ้าเท้ายังตะแคงควรปรึกษาแพทย์ หรือการใช้แผ่นรองหนุนที่หล่อได้ขนาดกับเท้าของคุณ ขณะเดินมือทั้งสองควรปล่อยสบายๆ ไม่กำแน่นและเหวี่ยงแขนทั้งแขนเพื่อแรงส่ง แต่ถ้าเป็นการเดินขึ้นเขา ควรก้าวสั้นๆ เพื่อเพิ่มแรงส่งจะช่วยให้ไม่ต้องเหนื่อยมาก ซึ่งบรรดานักแข่งเดินเร็วนั้น บางครั้งเดินได้เร็วถึง 14 กม./ชม. ซึ่งนับว่าเร็วกว่าคนธรรมดามากพวกเขาใช้วิธีส่ายสะโพกโดยใช้กล้ามเนื้อที่หน้าท้อง ก้น แขนและไหล่ เพิ่มกำลังให้กับตนเอง การเดินเช่นนี้จะต้องผ่านการฝึกฝนมาจนชำนาญหากจะลองทำดูบ้างก็ควรได้รับการฝึกเป็นพิเศษเสียก่อน

ควรเดินเร็วแค่ไหน

การเดินทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่ออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและทำกิจกรรมในแต่ละวัน การเดินทอดน่องไปตามทางเดินในชนบท การเดินดูของตามห้างสรรพสินค้า หรือการเดินไปทำงาน ล้วนเป็นการออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ แต่ระหว่างสัปดาห์ ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกบ้าง เพื่อให้หัวใจ ปอด และระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานได้ดี ผู้ใหญ่ที่แข็งแรงพอใช้ควรเดินด้วยความเร็ว 5 – 6 กม./ชม. ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 20 นาที ให้ได้สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จึงจะได้ประโยชน์ ถ้ารู้สึกหนักเกินไปควรเดินเท่าที่ทำได้ก่อน

ข้อควรปฏิบัติในการเดินออกกำลังกาย 

1. ควรอุ่นร่างกายบริหารต่างๆ ก่อนจะออกเดินเป็นระยะทางไกลๆ 

2. ท่าอุ่นร่างกายที่ทำเป็นประจำของคุณนั้น ควรมีท่าย่ำอยู่กับที่ด้วย ควรเริ่มเดินช้าๆ ก่อนเพื่อเป็นการอุ่นร่างกายไปในตัว จากนั้นจึงเริ่มเดินให้เร็วขึ้น

3. ควรชะลอหรือหยุดเดินหากมีอาการเสียด

4. ไม่เดินเร็วเกินไป ให้เร็วประมาณพอเดินไปคุยไปได้กับเพื่อนร่วมทาง 

5. ไม่ทิ้งตัวลงนั่งทันทีหลังจากที่เพิ่งเดินมาเหนื่อยๆหรือเดินมาเป็นระยะทางไกลๆ ควรผ่อนให้ร่างกายเย็นลงเสียก่อน

6. ไม่เดินเป็นระยะทางไกลเกินไป หรือเพิ่มระยะเร็วเกินไป วิธีที่ดีที่สุดจะต้องค่อยๆ เดินให้นานขึ้นและถี่ขึ้นทีละน้อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook