เบียร์กับการออกกำลังกาย ไปด้วยกันได้ไหม?

เบียร์กับการออกกำลังกาย ไปด้วยกันได้ไหม?

เบียร์กับการออกกำลังกาย ไปด้วยกันได้ไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บางคนคิดว่า เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุดในหน้าร้อน แต่ที่จริงแล้ว เบียร์จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้นและเร็วขึ้น

เมื่อศตวรรษที่ 19 แอลกอฮอล์ เริ่มเอาไปใช้เป็นสารที่เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เช่น นักกีฬาวิ่งมาราธอนก็ดื่มบรั่นดีในระหว่างการแข่ง จนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีนักกีฬาเชื่อว่า แอลกอฮอล์ปริมาณน้อยๆ จะช่วยให้ผลการแข่งขันดี ซึ่งที่จริงๆ แล้วมันให้ผลตรงกันข้าม เพราะแอลกอฮอล์จะลดความสามารถด้านความเร็ว ความอดทนของกล้ามเนื้อ และหลอดเลือด ซึ่งหากดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก จะส่งผลกระทบต่อความสมดุลและความเร็วของปฏิกิริยาตอบสนอง แม้ในวันรุ่งขึ้น ก็ไม่สามารถฟื้นฟูความสามารถการแข่งขันอย่างเต็มที่ได้

นักกีฬาบางคนเห็นว่า เบียร์สามารถเสริมน้ำตาลและน้ำ สามารถดื่มก่อนฝึกซ้อมหรือเข้าร่วมการแข่งขัน แต่ความจริงแล้ว เบียร์ปริมาณ 360 มิลลิลิตร มีน้ำตาลเพียง 16 กรัม กล่าวคือ พลังงานของเบียร์มาจากแอลกอฮอล์ ไม่ใช่น้ำตาล แม้ว่าดูดซึมง่ายและรวดเร็ว แต่แอลกอฮอล์จะตกค้างในตับไม่ใช้กล้ามเนื้อ ดังนั้น เบียร์ไม่สามารถสนองพลังงานที่กล้ามเนื้อต้องการ

ขณะเดียวกัน เบียร์จะกระตุ้นให้ไตขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำเร็วขึ้น จนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เช่นนั้นแล้ว ก่อนออกกำลังกายหรือในระหว่างการออกกำลังกาย รวมถึงภายหลังออกกำลังกาย ล้วนแต่ไม่ควรดื่มเบียร์ ถ้าชอบดื่มเบียร์ ควรเลือกดื่มระหว่างการรับประทานอาหาร ควบคู่ไปกับการดื่มน้ำเปล่า เพื่อเสริมน้ำเข้าสู่ร่างกายนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook