เคยสงสัยมั้ย เหตุใดคนเราจึงมีคาง ?

เคยสงสัยมั้ย เหตุใดคนเราจึงมีคาง ?

เคยสงสัยมั้ย เหตุใดคนเราจึงมีคาง ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เราทุกคนต่างก็มีคาง บางคนมีคางแหลมชัดเจน แต่คางของบางคนอาจไม่ยื่นออกมาอย่างเด่นชัดนัก

เมลิซซ่า โฮเกนบูม ผู้สื่อข่าวบีบีซี บอกว่า คางเป็นเรื่องที่หลายคนถกเถียงว่ามีไว้เพื่อประโยชน์อะไร และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน

เจมส์ แพมพุช จากมหาวิทยาลัยดุ๊ก ในสหรัฐฯ ซึ่งศึกษาเรื่องคางมาหลายปี บอกว่า ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดสามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดมนุษย์จึงเป็นสัตว์เพียงชนิด เดียวที่มีคาง โดยคางเป็นส่วนที่ยื่นออกมาของกระดูกขากรรไกรล่าง แม้แต่สัตว์ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์อย่าง ลิงชิมแปนซี และลิงไม่มีหางชนิดอื่น ต่างก็มีขากรรไกรที่หุบเข้าไปข้างใน แม้แต่มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล ซึ่งเป็นญาติของมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วก็ไม่มีคางเช่นกัน และนักวิทยาศาสตร์ใช้ความแตกต่างนี้ในการแยกแยะมนุษย์ยุคปัจจุบันออกจาก บรรพบุรุษมนุษย์อย่างนีแอนเดอร์ทัล

แม้ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดสามารถไขปริศนาเรื่องนี้ได้ แต่ก็มีผู้เสนอทฤษฎีที่โดดเด่น 3 ข้อ โดยข้อแรกเป็นแนวคิดที่ว่า คางอาจช่วยในการเคี้ยวอาหาร โดยผู้ตั้งทฤษฎีนี้บอกว่า เราจำเป็นต้องมีกระดูกเพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อรองรับแรงกดในการเคี้ยว อาหาร แต่แนวคิดนี้ก็ตกไปเมื่อนำมนุษย์ไปเปรียบเทียบกับลิงใหญ่หรือลิงไม่มีหาง ชนิดอื่นที่มีขากรรไกรรูปทรงคล้ายกัน นอกจากนี้ แพมพุช ยังชี้ว่า ทฤษฎีนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะมนุษย์ไม่จำเป็นต้องเคี้ยวอาหารที่เคี้ยวยาก มาตั้งแต่ต้น และอาหารที่เรากินส่วนใหญ่ค่อนข้างนุ่ม โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงสุก

ส่วนทฤษฎีที่ 2 เชื่อกันว่า คางช่วยในการพูด เพราะลิ้นของคนเราต้องการแรงเสริมจากกระดูกพิเศษใต้ขากรรไกร อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับมากนักเพราะคนเราไม่จำเป็นต้องออกแรงมากเวลาพูด ดังนั้นจึงฟังดูไม่สมเหตุสมผลนักว่าทำไมเราจึงต้องการกระดูกพิเศษเพื่อใช้ใน กระบวนการนี้

ทฤษฎีที่ 3 มีแนวคิดว่า คางไม่ได้มีประโยชน์โดยตรงใด ๆ ทว่าเป็นการคัดสรรทางธรรมชาติเพื่อจุดประสงค์ในการดึงดูดเพศตรงข้าม เช่นเดียวกับอุรังอุตังเพศผู้โตเต็มวัยที่มีแผ่นแก้มขนาดใหญ่ หรือ กวางเอลก์เพศผู้ที่มีเขาขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานนี้ถูกแย้งว่า ลักษณะเด่นดังกล่าวมีเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น แต่คางเป็นสิ่งที่พบได้ทั้งในมนุษย์ผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งถ้าหากทฤษฎีนี้เป็นจริง มนุษย์จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่มีลักษณะที่เกิดจากการคัดสรร ทางธรรมชาติดังกล่าวในทั้งสองเพศ

อย่างไรก็ตาม นาธาน โฮลตัน จากมหาวิทยาลัยไอโอวาในสหรัฐฯ ตั้งข้อสันนิษฐานว่า คางอาจเป็นผลพลอยได้มาจากการที่กะโหลกศีรษะของมนุษย์มีขนาดเล็กลงจาก วิวัฒนาการ เช่น กระดูกขากรรไกรล่างของมนุษย์ยุคปัจจุบันมีความแข็งแรงน้อยกว่ามนุษย์โบราณ เพราะเรากินอาหารปรุงสุกที่เคี้ยวง่ายนั่นเอง

ที่มา บีบีซีไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook