กล้าดื่มหรือเปล่า? เครื่องผลิต"น้ำดื่ม"จาก"เหงื่อ" เครื่องแรกของโลก

กล้าดื่มหรือเปล่า? เครื่องผลิต"น้ำดื่ม"จาก"เหงื่อ" เครื่องแรกของโลก

กล้าดื่มหรือเปล่า? เครื่องผลิต"น้ำดื่ม"จาก"เหงื่อ" เครื่องแรกของโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สวีเดนได้นำ"เครื่องผลิตน้ำดื่ม"จาก"เสื้อผ้าชุ่มเหงื่อ"มาใช้การแล้ว

อุปกรณ์ดังกล่าวจะปั่นเสื้อผ้าไปพร้อมๆกับให้ความร้อน เพื่อนำเอาเหงื่อออกมาในรูปแบบไอน้ำ ก่อนที่จะผ่านแผ่นกรองบางๆที่มีรูขนาดเล็กที่ยอมให้น้ำอนุภาคเล็กๆ ผ่านเท่านั้น

โดยนับตั้งแต่การเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 15 ก.ค ที่เมืองโกเธนเบิร์ก ผู้ผลิตเครื่องดังกล่าวเปิดเผยว่า มีผู้สนใจทดลองใช้และดื่มน้ำจากเหงื่อของตนเองแล้วกว่า 1,000 คน และยืนยันว่าน้ำที่ผลิตได้ สะอาดกว่าน้ำจากก็อกน้ำทั่วไป

ทั้งนี้ อุปกรณ์ดังกล่าว ผลิตขึ้นสำหรับใช้ในโครงการการกุศลเพื่อเด็กของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ เพื่อส่งเสริมและรณรงค์ให้คนทั่วไปได้ตระหนักถึงความจริงที่ว่า ผู้คนอีกกว่า 780 ล้านคนทั่วโลก ยังคงขาดแคลนการเข้าถึงน้ำสะอาด

เครื่องผลิตน้ำตัวนี้ ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นโดยนายอันเดรียส์ แฮมมาร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีของชาวสวีเดน จากรายการทางโทรทัศน์ "เมกาทรอนิก" (Mekatronik) เขากล่าวว่า ส่วนที่ยากที่สุดของอุปกรณ์ชิ้นนี้คือ อุปกรณ์การบำบัดน้ำให้สะอาด ที่พัฒนาโดยบริษัท HVR โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสวีเดน


นายแฮมมาร์กล่าวว่า การทำน้ำให้สะอาดใช้เทคนิคที่เรียกว่า Membrane Distillation หรือกระบวนการแยกความร้อนในการกลั่นของเหลว ก่อนที่ไอน้ำจะผ่านวัสดุที่คล้ายกับ Goretex หรือสารที่เคลือบด้านในของเนื้อผ้า ซึ่งจะมีลักษณะเป็นตาข่ายขนาดเล็กมาก โดยเล็กกว่าขนาดของหยดน้ำ แต่ใหญ่กว่าโมเลกุลของไอน้ำ โดยที่แบคทีเรีย เกลือ ใยผ้า และอื่นๆ ไม่สามารถเล็ดรอดผ่านได้

เขากล่าวว่า ปริมาณน้ำที่ได้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีเหงื่อออกมากเท่าใด แต่โดยปกติแล้ว เสื้อยืดธรรมดาจะสามารถผลิตน้ำดื่มได้ราว 10 มิลลิลิตร หรือราวหนึ่งอึกพอดี

อุปกรณ์ชิ้นนี้ถูกนำจัดแสดงไว้บริเวณสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอล"โกเธีย คัพ" ซึ่งเป็นทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลเยาวชนนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ด้านนายแมทเทียส รอนจ์ ซีอีโอบริษัทเอเจนซีโฆษณา เดปอร์ติโว ซึ่งจัดเจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง กล่าวว่า แม้อุปกรณ์ชิ้นนี้ได้ช่วยสร้างความตระหนักรู้ต่อองค์การยูนิเซฟ แต่ในความเป็นจริงยังคงมีข้อจำกัดอีกมาก เนื่องจากความเป็นจริงแล้ว คนเราไม่ได้ผลิตเหงื่อออกมามากถึงขนาดผลิตเป็นน้ำดื่มได้ และเครื่องดังกล่าวก็อาจไม่สามารถผลิตออกมาเพื่อใช้ในวงกว้างได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook